เมนู

เป็นใหญ่. บทว่า สรํ พุทฺธาน สาสนํ ความว่า เมื่อมาระลึกถึงศำสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า มหตฺเตน
สมนฺนาคโต
ความว่า แม้สงฆ์ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ 4 อย่างนี้ คือ
ความเป็นใหญ่โดยเป็นรัตตัญญู รู้ราตรีนาน 1 ความเป็นใหญ่โดยความ
ไพบูลย์ 1 ความเป็นใหญ่โดยพรหมจรรย์ 1 ความเป็นใหญ่โดยความเป็นผู้
เลิศด้วยลาภ 1. บทว่า อถ เม สงฺเฆปิ คารโว ความว่า เมื่อนั้นเราก็เกิด
ความเคารพแม้ในสงฆ์. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำความเคารพใน
สงฆ์ในเวลาไร ตอบว่า ในเวลาพระนางประชาบดีถวายผ้าคู่ จริงอยู่ ในเวลา
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถึงผ้าคู่ ที่พระนางมหาปชาบดีน้อมเข้าไป
ถวายแด่พระองค์ว่า โคตมี พระนางจงถวายในสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายในสงฆ์
แล้ว ทั้งเราทั้งสงฆ์ก็จักเป็นอันพระนางบูชาแล้ว ชื่อว่าทรงทำความเคารพในสงฆ์.
จบอรรถกถาอุรุเวลสูตรที่ 1

2. ทุติยอุรุเวลสูตร


ว่าด้วยเถรกรณธรรม 4


[22] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้น
อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นพราหมณ์
หลายคน แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว เข้าไปหาเราครั้น
ไปถึงแล้วแสดงความชื่นชมกับเรา กล่าวถ้อยคำอันทำให้เกิดความยินดีต่อกัน
เป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พากันกล่าวกะเราว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าทั้งหลายได้ยินมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่

ไหว้บ้าง ไม่ลุกรับบ้าง ไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง ซึ่งพราหมณ์ทั้งหลาย
ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว ดังนี้ ความข้อนี้ก็เป็นอย่าง
เขาว่า พระโคดมผู้เจริญ ไม่ไหว้ด้วย ไม่ลุกรับด้วย ไม่เชื้อเชิญมาด้วยอาสนะ
ด้วย ซึ่งพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว
จริง ๆ ข้อนี้เป็นความบกพร่องแท้เทียว พระโคดมผู้เจริญ.
ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นว่าท่านเหล่านี้ไม่รู้จักเถระ (คือผู้หลักผู้ใหญ่)
หรือเถรกรณธรรม (ธรรมอันทำให้เป็นเถระ) บุคคลแม้หากเป็นผู้เฒ่าอายุถึง
8 ปี หรือ 90 ปี หรือ 100 ปีก็ตาม แต่เป็นอกาลวาที (พูดไม่ถูกกาละ)
อภูตวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นจริง) อนัตถวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์)
อธัมมวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม) อวินยวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นวินัย) กล่าว
ถ้อยคำอันไม่น่าจดจำ พร่ำเพรื่อ เหลวแหลก ไม่มีขอบเขต ประกอบ
ด้วยเรื่องอัน ไม่ต้องการ บุคคลนั้นนับว่า เถระพาล (ผู้ใหญ่โง่) แท้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลแม้หากเป็นเด็กรุ่นหนุ่มผมยังดำ อยู่ในวัยอัน
เจริญคือปฐมวัย แต่ว่าเป็นกาลวาที (พูดถูกกาละ) ภูตวาที (พูดสิ่งที่เป็นจริง)
อัตถวาที (พูดเป็นประโยชน์) ธัมมวาที (พูดเป็นธรรม) วินยวาที (พูด
เป็นวินัย) กล่าวถ้อยคำน่าจดจำ ไม่พร่ำเพรื่อ มีที่อ้างอิง มีขอบเขต
ประกอบด้วยคุณที่ต้องการ บุคคลนั้นนับได้ว่า เถระบัณฑิต (ผู้ใหญ่ฉลาด)
โดยแท้.
ภิกษุทั้งหลาย เถรกรณธรรม 4 นี้ เถรกรณธรรม 4 คืออะไร
บ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท
และโคจร เห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว สะสมธรรมที่ได้ฟัง
แล้วไว้ ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลางงามในที่สุด แสดง

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริบูรณ์สิ้นเชิง บริสุทธิ์สิ้นเชิง
ธรรมเห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงจำไว้ กล่าวได้คล่อง เพ่ง
ด้วยใจ เห็นเนื้อความปรุโปร่ง
3. เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4
อันเป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพ
ปัจจุบัน
4. เธอกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เถรกรณธรรม 4
ผู้ใดมีจิตฟุ้งซ่าน พูดมากหาประ-
โยชน์มิได้ มีความดำริไม่มั่นคง ปรากฏ
ว่ายินดีในอสัทธรรม ผู้นั้นห่างไกลจาก
ความเป็นเถระ มีความเห็นลามกไม่อาทร.
ส่วนผู้ใดถึงพร้อมด้วยศีล ประกอบ
ด้วยสุตะ มีปฏิภาณ ประกอบพร้อมใน
ธรรมอันทำความมั่นคง เห็นแจ้งซึ่งเนื้อ
ความของธรรมด้วยปัญญา ถึงฝั่งแห่งธรรม
ทั้งปวง ไม่มีกิเลสดุจตาปูตรึงจิต มีปรีชา
ละชาติและมรณะได้ จบพรหมจรรย์ เรา
กล่าวผู้นั้นว่า เถระ ซึ่งเป็นผู้หาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นจึงได้ชื่อว่า
เถระ.

จบทุติยอุรุเวลสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยอุรุเวลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอุรุเวลสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺพหุลา คือ พวกพราหมณ์เป็นอันมาก. บทว่า พฺราหฺมณา
ความว่า พวกพราหมณ์มาแล้วพร้อมกันกับพราหมณ์ผู้พูดคำหยาบ. บทว่า
ชิณฺณา วุฑฺฒา ได้แก่ ผู้คร่ำคร่าด้วยชรา เจริญด้วยวัย. บทว่า มหลฺลกา
ได้แก่ แก่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ ล่วงกาลผ่านวัยทั้งสามไปแล้ว.
บทว่า สุตํ เมตํ ได้แก่ ข้อนี้พวกเราฟังมาแล้ว. บทว่า ตยิทํ โภ โคตม
ตเถว
ความว่า ท่านพระโคดม ข้อนี้พวกเราฟังมาแล้ว การณ์ก็เป็นจริง
อย่างนั้น. บทว่า ตยิทํ โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ความว่า การไม่ทำ
อภิวาทเป็นต้นนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
ในบทเป็นต้นว่า อกาลวาที มีวินิจฉัยดังนี้. ชื่อว่า อกาลวาที
เพราะพูดไม่รู้จักกาล (พร่ำเพรื่อ). ชื่อว่า อภูตวาที เพราะพูดแต่เรื่อง
ที่ไม่จริง. ชื่อว่า อนัตถวาที เพราะพูดแต่เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่พูด
เรื่องที่เป็นประโยชน์. ชื่อว่า อธัมมวาที เพราะพูดไม่เป็นธรรม ไม่พูด
เป็นธรรม. ชื่อว่า อวินยวาที เพราะพูดไม่เป็นวินัย ไม่พูดเป็นวินัย.
บทว่า อนิธานวตึ วาจํ ภาสิตา ได้แก่ ไม่กล่าววาจาที่ควรจดจำไว้ใน
หทัย. บทว่า อกาเลน ได้แก่ โดยกาลไม่ควรจะพูด. บทว่า อนปเทสํ
ได้แก่ พูดขาดที่อ้างอิง ไม่พูดให้มีที่อ้างอิงมีเหตุ. บทว่า อปริยนฺตวตึ
ได้แก่ ไม่รู้จักจบ ไม่พูดมีกำหนด (จบ). บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ได้แก่
ไม่แสดงให้อาศัยประโยชน์อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า พาโล เถโร
เตฺวว สํขฺยํ คจฺฉติ
ความว่า นับได้ว่าเป็นเถระอันธพาล (ผู้โง่บอด).
บทเป็นต้นว่า กาลวาที พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่ตรงกันข้ามกับที่
กล่าวมาแล้ว.